หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

  1. ชื่อปริญญา
  2. ภาษาไทย: หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
  3. ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Laws
  4.  
  5.  
  6. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    ปรัชญา ความสำคัญ
    หลักสูตรนิติศาสตร์ มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายทั้งการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย สามารถนำหลักกฎหมายไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างถูกต้องแก่กรณี สำเร็จเป็นบัณฑิตทางกฎหมายซึ่งประพฤติตนอยู่ในกรอบของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยมุ่งเน้นทั้งด้านการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) และให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงผ่านสหกิจศึกษา (Co-operative Education) เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะความชำนาญในทางวิชาชีพ ควบคู่กับทักษะด้านภาษา พร้อมประกอบอาชีพทางด้านกฎหมาย
  7.  
  8. จุดเด่นของหลักสูตร
    1) การจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning)
    นอกจากการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย หลักสูตรนิติศาสตร์ได้จัดให้มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติ โดยนำองค์ความรู้ทางกฎหมายที่นักศึกษาได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง
    2) การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
    มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสอดแทรกตัวบทกฎหมาย และคำศัพท์ทางกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับคำศัพท์ทางวิชาชีพ
    3) การสหกิจศึกษา (Co-operative Education)
    นอกจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว เพื่อให้นักศึกษาได้มีทักษะและประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายผ่านสหกิจศึกษา โดยจัดให้นักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้ค้นพบความถนัดในทางวิชาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพในอนาคต และเพื่อให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ
    4) การทวนสอบผ่านกระบวนการทดสอบก่อนสำเร็จการศึกษา (Exit Exam)
  9. มีการทดสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Exam) ในทางกฎหมาย เพื่อประเมินคุณภาพของนักศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาได้วัดระดับความรู้ในทางกฎหมายที่ได้ศึกษามาตลอดระยะเวลาในหลักสูตร ซึ่งผลการสอบสามารถรับรองได้ว่านักศึกษามีความรู้ในทางกฎหมายและสามารถนำไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพในอนาคตได้
    5) เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนกฎหมาย โดยสอดคล้องกับ มคอ 1 และได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพ


  10. วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)
    เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมีคุณลักษณะดังนี้ (มคอ 1)
    1) มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายพื้นฐานที่จำเป็นได้ถูกต้องตามหลักวิชา
    2) สามารถนำความรู้ทางกฎหมายพื้นฐานที่จำเป็นไปปรับใช้กับกฎหมายอื่น ๆ ในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป
    3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้และวิจารณญาณอย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์
    4) มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ วิชาชีพ และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
    5) มีทักษะในเชิงปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพกฎหมาย
    6) มีจิตสำนึกต่อสังคม และยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม ความยุติธรรม หลักนิติธรรม และมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
    7) มีทักษะการใช้เทคโนโลยี การใช้ภาษาไทย และการใช้ภาษาต่างประเทศที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพ
  11.  
  12.  
  13. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs)

    PLO1 สามารถอธิบายหลักกฎหมายพื้นฐาน หลักกฎหมายเฉพาะ แนวคิด และแนวคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยขององค์กรตุลาการได้อย่างถูกต้องชัดแจ้ง
    PLO2 สามารถตีความและปรับใช้หลักกฎหมายได้ถูกต้องและเหมาะสมแก่กรณี
    PLO3 สามารถค้นคว้าหาความรู้ในทางกฎหมายและใช้แหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาเขียน เรียบเรียง และนำเสนอเอกสารในทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง กระชับ เป็นมืออาชีพและเป็นระบบ
    PLO4 สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ สนับสนุน โต้แย้ง และรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นได้อย่างรอบด้านและเป็นกัลยาณมิตร และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    PLO5 สามารถอธิบายและแสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย และสามารถแสดงให้เห็นถึงความมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และมีความตื่นตัวต่อปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ
    PLO6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างเหมาะสมแก่กรณี รวมถึงสามารถสื่อสาร นำเสนอ ตลอดจนตั้งคำถามและตอบคำถามได้อย่างชัดเจนทำให้บุคคลอื่นเข้าใจได้ง่าย

 

 แนวทางประกอบอาชีพ

(1) ผู้พิพากษา/ตุลาการ
(2) พนักงานอัยการ
(3) ทนายความ
(4) นิติกร
(5) ที่ปรึกษากฎหมาย
(6) ข้าราชการ พนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ
(7) อาจารย์ และนักวิจัย
(8) นักกฎหมายประจำองค์การระหว่างประเทศ

แนวทางการศึกษาต่อ

      สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

      ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 13,700 บาท

      ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 164,400 บาท