หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

ชื่อปริญญา
  • ภาษาไทย: หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
  • ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Laws
ปรัชญาหลักสูตร

              หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิชาการ และทักษะการปฎิบัติงานตามวิชาชีพ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายเพื่อวินิจฉัย วิพากษ์ วิจารณ์ และโต้แย้งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคล สังคม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

จุดเด่นหรือจุดเน้นของหลักสูตรที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน

      1. จัดการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยการบูรณาการบริการวิชาการแบบเชิงรุกในพื้นที่ชุมชน สังคม ท้องถิ่น เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ การเป็นผู้นำในทางวิชาการ การคิดวิเคราะห์ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

      2. มีห้องปฏิบัติการเพื่อฝึกทักษะวิชาชีพทางกฎหมาย อาทิ ศาลจำลอง ศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หรือ คลินิกกฎหมาย ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ก่อนออกฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นระยะเวลา 8 เดือน

     3. ออกแบบโครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษาที่เอื้อให้บัณฑิตสามารถสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ ประเภทตั๋วปี ของสำนักอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความได้

     4. คณาจารย์ของหลักสูตรนิติศาสตร์มีประสบการณ์ด้านการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของสหราชอาณาจักร หรือ UKPSF (The Professional Standards Framework) จาก The Higher Educational Academy (Advance HE)

วัตถุประสงค์

       1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายที่สอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใต้กระแสการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลแบบไร้พรมแดนที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน

      2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมายให้ก้าวทันนโยบายระดับประเทศ เพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม

      3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ประพฤติตนอยู่ในกรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณของแต่ละองค์กรวิชาชีพ

       4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

ระบบการจัดการศึกษา

       – ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมี ระยะเวลาศึกษาไม่น้อย กว่า 15 สัปดาห์

       – มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Credit bank ให้บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในระบบปกติ

       – การดำเนินการหลักสูตร วัน เวลาราชการปกติ

              ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

              ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

      หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติและมหาวิทยาลัย ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสอดคล้องตามเกณฑ์ 4 ด้าน ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 รวมทั้งการมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานของการมีจิตสำนึก มีความกตัญญู มีวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้มีความสามารถแต่ละด้านดังนี้ ด้านความรู้  (Khowledge) ,ด้านทักษะ (Skills) ,ด้านจริยธรรม (Ethic) ,ด้านลักษณะบุคคล (Character)

 แนวทางประกอบอาชีพ

  1. ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ
  2. นายทหารพระธรรมนูญ
  3. ทนายความ
  4. บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ เช่น นักการฑูต /นักกฎหมายภาครัฐ
  5. นิติกร พนักงานคดีปกครอง ปลัดอำเภอ หรือองคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. นักกฎหมายภาคเอกชน เช่น ที่ปรึกษากำหมายในบริษัทเอกชน หรือทำงานในภาคประชาสังคม
  7. พนักงานสอบสวน (ข้าราชการตำรวจ)
  8. นักกฎหมายประจำองค์การระหว่างประเทศ
แนวทางการศึกษาต่อ

      สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

      ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 21,000 บาท

      ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 168,000 บาท